ยุทธศาสตร์อีสานใต้โยงใยเส้นทาง4ประเทศท่องเที่ยวและเชื่อมต่อเศรษฐกิจ

เส้นทาง ถนนเส้น 24 สายโชคชัย – เดชอุดม เชื่อมเส้นทางเปิดประตูสู่อีสานใต้ โดยเริ่มจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 สายทางต่างระดับสีคิ้ว–อุบลราชธานี หรือ ถนนสีคิ้ว-เดชอุดม เดิมเรียก "ถนนโชคชัย-เดชอุดม" ก่อนมีก่อนขยายเส้นทางเริ่มมาจากทางแยกต่างระดับสีคิ้ว (จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201) รวมระยะทางทั้งสิ้น 420.145 กิโลเมตร ผ่านจังหวัดนครราชสีมา-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ และปลายทางที่ อุบลราชธานี โครงการถนน 4 เลน เส้น 24 เปิดประตูสู่อีสานใต้ เชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่ง การท่องเที่ยว 4 ประเทศ อันได้แก่ ไทย – กัมพูชา – ลาว และเวียดนาม ล่าสุดเปิด 4 ช่องจราจรเพิ่ม เป็นตอนๆ ตอนที่ 1 อำเภอปราสาท – บ้านกระเทียม ระยะทาง 26 .443 กิโลเมตร งบประมาณ 1,094.9 ล้านบาท, ตอนที่ 2 ช่วง บ้านกระเทียม – อำเภอสังขะ ระยะทาง 25.3 กิโลเมตร งบประมาณ 1,154.8 ล้านบาท, ตอนที่ 3 ช่วง อำเภอสังขะ – อำเภอขุขันธ์ ระยะทาง 35 กิโลเมตร งบประมาณ 1,280.2 ล้านบาท และตอนที่ 4 ช่วงอำเภอขุนหาญ – อำเภอขุขันธ์ ระยะทาง 31.799 กิโลเมตร งบประมาณ 1,394.14 ล้านบาท รวมระยะทางทั้งสิ้น 118.542 กิโลเมตร ด้วยงบประมาณ 4,924.04 ล้านบาท

สรุปเส้น 24 ถนน 4 ช่องจราจรที่แล้วเสร็จ  ต่างระดับสีคิ้ว-แยกปักธงชัย-โชคชัย-หนองบุญมาก-หนองกี่-นางรอง-ประโคนชัย-ปราสาท-สังขะ-ขุขันธ์-ขุนหาญ ที่เหลือคาดว่าแล้วเสร็จปี2563


การขนส่งทางบก ยังมีความจำเป็นมาก ทั้งในการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร จากภาคอีสานของไทย ไปสู่สากล และผู้บริโภคที่อยู่ในเมืองใหญ่ อย่างเช่นกรุงเทพมหานครฯ และนอกจากนั้นก็จะเป็นการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของไทย ของภาคอีสาน ให้ได้มีนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่นๆ ที่เดินทางมา รวมทั้งการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวสู่สากล ถนนสายนี้จะเชื่อมไปสู่ การขนส่งนักท่องเที่ยว สินค้า ไป 4 ประเทศ ทั้งประเทศไทย เอง และประเทศกัมพูชา, ลาว และเวียดนาม จะทำให้เกิดการจ้างงาน เกิดการไหลเวียนของแรงงาน การขยายโรงงาน ศูนย์กระจาย และพักสินค้าในภาคอีสาน โดยเฉพาะอีสานใต้แห่งนี้ จังหวัดที่จะได้ประโยชน์อย่างมากในการเปิดถนนสายนี้ นอกนั้นก็จะเป็นทางเชื่อมให้เกิดความสะดวกสบายของการขนส่งสินค้า ขนส่งคน นักท่องเที่ยวแล้ว ยังเชื่อมเพื่อความเจริญ มาสู่การมีรายได้ประชากรเพิ่มตามเป็นเงาตามตัว ซึ่งนอกจากการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน ที่จะให้บริการระบบล้อแล้ว ในส่วนของระบบราง ก็เช่นกัน อย่างเช่นรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง รวมทั้งระบบรถไฟระยะสั้น ในส่วนภูมิภาคที่จะขนส่งสินค้า เชื่อมใน 4 ประเทศนี้แล้ว ก็จะขนส่งนักท่องเที่ยว ลดความแออัดของการขนส่งทางบกไปด้วยอีกส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน ก็จะมีการพัฒนาควบคู่กันไปในรัฐบาลชุดนี้ด้วย เพราะในสากล การขนส่งเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศนั้นๆ ด้วย

 
 
 
จากการขนส่งที่สะดวก รวดเร็ว เชื่อว่าจากนี้ จะมีนักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเดินทางไปเที่ยวยังประเทศกัมพูชา จากทั่วทุกภูมิภาคของไทย และต่างประเทศ จะเดินทางมาผ่านเส้นนี้เป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของชาวบ้านในแถบนี้ ดีขึ้นตามลำดับด้วย