พาเพื่อนเที่ยว 20ที่เที่ยวบุรีรัมย์

แนะนำที่เที่ยวที่เป็นที่นิยมอันดับต้นๆ ของจังหวัดที่ไม่ควรพลาด แนะนำ 20สถานที่เที่ยวบุรีรัมย์ 

  1.วัดเขาอังคาร อ.เฉลิมพระเกียติ บุรีรัมย์ 

เป็นวัดที่มีวัตถุธรรมความสวยงามของวัดพุทธศิลป์สร้างมานานในยุคที่ขอมเรืองอำนาจความสวยงามของวัดพุทธศิลป์ผสมศิลป์ขอม แนวเดียวกันกับปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ส่วนสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างที่เห็นในวัดปัจจุบัน ส่วนใหญ่สร้างใหม่ทับของเก่า มีโบสถ์ที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย ดูสวยงามแปลกตา เป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์ มีโบสถ์ ศาลา และอาคารต่างๆ

ลักษณะเด่น เป็นวัดที่สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ หลายรูปแบบงดงาม แปลกตาและน่าสนใจยิ่ง ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังและเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษด้วย บริเวณวัดเป็นปากปล่องภูเขาไฟคาดว่าเคยเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยทวารวดีเพราะเสมาหินแกะสลักสมัยดังกล่าวหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก วัตถุธรรมความสวยงามของวัดเขาพระอังคาร ด้านพุทธศิลป์เน้นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สร้างศรัทธาต่อผู้มาเยือน

พิกัด วัดเขาพระอังคาร ตั้งอยู่บ้านเจริญสุข ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ตัววัดตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 3 ก.ม. ตั้งอยู่บนยอดเขาพระอังคารซึ่งสูงประมาณ 320 เมตรจากระดับน้ำทะเล ห่างจากปราสาทพนมรุ้ง 20 กิโลเมตร ตามเส้นทางบ้านตาเป็ก-ละหานทราย ไปทางละหานทรายประมาณ 13 กิโลเมตรแล้วเลี้ยวขวาประมาณ 7 กิโลเมตร(ถนนลาดยางเกือบตลอดสาย) มีป้ายบอกเป็นระยะ จากบ้านตาเป็กมาจะถึง3แยก ซ้ายไปบ้านถาวร ขวาไปบ้านเจริญสุข ถนนจะเป็นทางโค้ง 4 ช่องจราจรตรงแยกนี้

ตรงไปเรื่อยๆ ถนนปรับปรุงลาดยางสะดวกสบายเป็นส่วนใหญ่ ตรงมาเรื่อยๆจะถึง 3แยก เข้าหมุ่บ้านและทางเลี่ยงหมุ่บ้าน สามารถไปได้ทั้งสอง จากนั้นตรงไปผ่านโรงงานทพหิน ผ่านไป ขึ้นเขาอังคาร ทางขึ้นถนนซีเมนตืตลอดสาย ทางขึ้จเขาไม่ชันมาก ขับขี่ขึ้นสบาย





2.เสาหินบะซอลต์ (แกรนด์แคนยอน บุรีรัมย์) อ.นางรอง 
แกรนด์แคนยอน บุรีรัมย์ หรือชื่อตามนักวิชาการ "เสาหินบะซอลล์" ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เพิ่งค้นพบ จากการตั้งใจขุดสระกักเก็บน้ำหมู่บ้าน จากความยิ่งใหญ่และสมบูรณ์ของเสาหินทำให้นักท่องเที่ยวมาเยือนต่างประหลาดใจในความมหัศจรรย์การเกิดเสาหิน ถือว่ามาบุรีรัมย์หากไม่ได้มาที่นี่ถือว่าไม่ครบ
ที่ตั้ง อำเภอนางรอง เดินทางจากตัวเมืองไปตามถนนเส้น 218 (บุรีรัมย์-นางรอง) ถึงตัวอำเภอเลี้ยวซ้ายไปทาง อ.ละหานทรายตามเส้นทาง 3001 ไปอีก 7 กิโลเมตร จะมีเลี้ยวซ้ายไปบ้านโคกมะค่าโหรน ขับไปท้ายหมู่บ้านก็พบ





3.อุทยานน้ำห้วยตะแบก อ.พลับพลาชัย

ทะเลสาบแพท่องเที่ยวบุรีรัมย์  โครงการ 50 แพ บริการแพเพื่อท่องเที่ยว บริการอาหาร/เล่นน้ำ สนใจจองแพ / รายละเอียดแพ คลิก

ทำไมต้องใช้ชื่อ... ห้วยตะแบก ​ที่บ้านศรีสมบูรณ์หลายท่านอาจไม่ทราบว่า... ห้วยตะแบก​ที่​หมู่​6​บ้านศรีสมบูรณ์​ ต.โคกขมิ้น​ อ.พลับพลาชัย​ จ.บุรีรัมย์​ เกิดจากชาวบ้านศรีสมบูรณ์​ ได้ถวายฎีกา​ขอพระราชทานความช่วยเหลือ​ จากพ่อหลวง​ในหลวงรัชกาลที่​9​ ให้ขุดลอกลำห้วยตามธรรมชาติ​ที่ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้​ ในฤดูน้ำหลากมีมวลน้ำไหลเข้ามาจำนวนมาก​ แต่ก็ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้​  ความทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท​  จึงทรงรับโครงการห้วยตะแบกบ้านศรีสมบูรณ์​ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ​ ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้​ จึงเกิดอ่างเก็บน้ำมาจวบเช่นปัจจุบัน



พิกัด แยกจากถนนประโคนชัย-กระสัง ที่ตรงแยกวัดโคกขมิ้น เลี้ยวขวาไปยังอ่างเก็บน้ำ​บ้านศรีสมบูรณ์​ ม.6​ ต.โคกขมิ้น​  อ.พลับพลาชัย จ.บุรีรัมย์


4.ช่องโอบก และผาตารุ่ง อ.บ้านกรวด 




ช่องโอบกเป็นเส้นทางติดต่อระหว่างคนไทยกับคนกัมพูชาในอดีต คำว่า "โอบก" เป็นภาษาเขมร ซึ่ง โอ แปลว่า "ห้วย" บก เป็นคำกริยา หมายถึง น้ำไหลจากภูเขาสู่ที่ต่ำอย่างแรงเป็นแห่ง ๆ คนทั่วไปจึงนิยมเรียกว่า ช่องโอบก ซึ่งหมายถึง เส้นทางที่มีลำห้วยน้ำไหลลงอย่างแรง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้เป็นจุดชมวิว และศึกษาประวัติความเป็นมาของอดีตแก่ผู้ที่ไปเที่ยวชม

การเดินทาง :  การเดินทางใช้เส้นทาง สายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ทางหลวงหมายเลข 219 ต่อด้วยทางสายประโคนชัย-บ้านกรวด ใช้ทางหลวง หมายเลข 224 ถ.นิคมฯ - กาบเชิง เลี้ยวขวาไปบ้านสายโท 1 ใต้ เดินทางต่อไปอีกประมาณ 6-7 กม. จะมีฐาน ตชด.ประจำการอยู่จากตัวอำเภอบ้านกรวดขับรถมาทางสายโท1 ผาตารุ่งไปทางเดียวกันกับช่องโอบก จะมีแยกซ้ายมือประมาณ กม.3 ไปตามทางถนนลูกรัง ชาวบ้านทำป้ายบอกทางเป็นระยะจากถนนดำที่แยกไปตามสวนยาง จะเป็นถนนแดง ประมาณ 3-4 กม.ก็ถึงผาตารุ่ง และผาไม้แดง

  
5.วัดป่าละหานทราย อ.ละหานทราย
พุทธศาสนสถาน วัดป่าละหานทราย สถานที่เพื่อใช้ในกิจการ หรือเกี่ยวข้องกับ พระพุทธศาสนา ภายในประกอบด้วย วัดวาอาราม โบสถ์ วิหาร เจดีย์ และสถูป เป็นต้น โดยชาวละหานทรายและใกล้เคียงเป็นสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพิธีทางศาสนา แลซึ่งพุทธศาสนิกชนนิยมไปกราบไหว้บูชา เป็นที่พำนักของพระภิกษุ เและเป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย





6.หอนาฬิกา และลูกชิ้นยืนกิน อ.เมือง 





7.วัดป่าเขาน้อย อ.เมืองบุรีรัมย์ 
ไหว้พระบรมธาตุเจดีย์ศรีสุวจคุณานุสรณ์ 
ที่ตั้ง เลยวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง มาตามถนนสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย จากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร จะมีแยกซ้ายมือมีป้ายบอกสุดถนนจะเป็นที่ตั้งของวัด


8.สนามบุรีรัมย์สเตเดี้ยม อ.เมือง บุรีรัมย์ 

สนามบุรีรัมย์ สเตเดี้ยม หรือเรียกตามสปอนเซอร์ สนามไอโมบาย(เดิม) ล่าสุดเป็นสนาม ช้าง อารีนา ถือเป็นสนามกีฬาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตั้งอยู่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ในปี พ.ศ. 2557 สามารถทำสนามจุได้ 32,600 ที่นั่ง โครงสร้างประกอบด้วยเหล็กและไฟเบอร์ ซึ่งสร้างด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท



จัดเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานระดับโลกจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ,มาตรฐานสนามกีฬาระดับเอจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน และยังได้บันทึกลงกินเนสบุ๊คว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่าที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกคือ 256 วั

การเดินทาง ตั้งอยุ่บนถนนบุรีรัมย์-ประโคนชัย(เส้น2445) จากตัวเมืองประมาณ 3-4 กิโลเมตร 


9.ภูเขาไฟกระโดง อ.เมือง บุรีรัมย์  







10.ละลมโบราณ อ.เมืองบุรีรัมย์  

บุรีรัมย์เมืองที่มีคูเมืองสวยและสมบูรณ์ติดอันดับคูเมืองโบราณล้อมรอบคลองละลม หรือคูเมืองโบราณบุรีรัมย์ อายุกว่า 1,800 ปี มีทั้งหมด 6 ลูก สภาพเป็นคูเมืองในปัจจุบัน ละลม เดิมถูกสร้างในสมัยทวารวดี เป็นโบราณสถานตามประกาศกรมศิลปากร ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2523




อีกกิจกรรมหนึ่งที่แนะนำช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน รอบๆ ละลมที่ทางเทศบาลได้ปลูกไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดคือ กาฬพฤกษ์ จะผลิใบออกดอกเต็มต้น ถือเป็นถนนสายสายดอกไม้สวย บางคนถึงกับเอ่ยปากว่าเหมือนซากุระ บุรีรัมย์ มาบุรีรัมย์อย่าลืมแวะมาท่องเที่ยวกัน



ยังเป็นเส้นทางวิ่ง #บุรีรัมย์มาราธอน เลือกให้ผ่าน ถือเป็นชุมชนเมืองเก่า ถึงวันแข่งชาวชุชมชนจะตื่นแต่เช้ามายืนเชียร์นักวิ่ง สร้างสีสรร บรรยากาศที่ดี นักวิ่งต่างชื่นชม เส้นทางสวย และสนุก




11.ศูนย์อนุรักษ์นกกระเรียน และอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก อ.เมืองบุรีรัมย์ 
โครงการเพาะพันธุ์นกกระเรียน โดยความร่วมมือขององค์การสวนสัตว์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชุมชนในพื้นที่ในการอนุรักษ์มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันพบมีลูกนกกระเรียนพันธุ์ไทย เกิดในธรรมชาติมากกว่า 10 ตัว หลังเคยสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติกว่า 50 ปี น่ายินดีสำหรับชาวบุรีรัมย์ และประเทศไทย 


พิกัดการเดินทาง ศูนย์อนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก จ.บุรีรัมย์  เข้าชมสถานที่ฟรี 




การเดินทาง
ทางเข้าที่ 1 หากมาทางด้านอำเภอเมือง เดินทางตามถนนบุรีรัมย์-ประโคนชัย ประมาณ กม.10 จะมีแยกเข้าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก ทางขวามือ ขับเข้าไปจนตามขนานสันเขื่อนจนสุดไปถึงอีกด้านหนึ่ง ตรงต่อไปตามถนน3070 ขนานสันเขื่อน ขับเข้ามาประมาณ 5.2 กิโลเมตร จะมีแยกเลี้ยวซ้ายไปทางโรงเรียนบ้านหนองมะเขือ ขับตามทางที่จะไปริมอ่างอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะมองเห็นหอชมนกสูงเท่าตึก 4 ชั้น ตลอดเส้นทางเลี้ยวตามหมู่บ้านจะมีป้ายบอกทางเป็นระยะ เลี้ยวซ้ายเข้าไปจอดหน้าศูนย์ได้เลย

ทางเข้าที่ 2 หากมาทางถนนเส้นบุรีรัมย์-นางรอง สาย 218 จากโรงเรียนบ้านบัววิทยาคมมาทาง อ.นางรอง ประมาณ 8 กิโลเมตร จนถึงแถวหมวดการทางหนองเกียบ ต.สะแกโพรง มีทางเลี้ยวซ้าย ตรงไปประมาณ 2 กิโลเมตร จนสุดถนนก็ถึง เข้าไปจอดหน้าศูนย์ได้เลย

ทางเข้าที่ 3 เข้าทางถนนบายพาสถนน226 ช่วงแยกบ้านกระสัง-แยกภัทรบพิตร(หลังสนามแข่งรถ) เข้าทางโรงเรียนบ้านปรุบุมะค่า จะผ่านร้านกาแฟ @4 ขับเลยไปถึงสันเขื่อนห้วยจรเข้มาก(ระยะทาง 6 กิโมตร) แล้วเลี้ยวขวาตามถนน3070 ขนานสันเขื่อน ขับตรงไปเรื่อยๆ ประมาณ 2 กิโลเมตร จะมีแยกเลี้ยวซ้ายไปทางโรงเรียนบ้านหนองมะเขือ ขับตามทางที่จะไปริมอ่างอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะมองเห็นหอชมนกสูงเท่าตึก 4 ชั้น ตลอดเส้นทางเลี้ยวตามหมู่บ้านจะมีป้ายบอกทางเป็นระยะ เลี้ยวซ้ายเข้าไปจอดหน้าศูนย์ได้เลย   



12.ปราสาทเมืองต่ำ อ.ประโคนชัย บุรีรัมย์  
ปราสาทเมืองต่ำ เป็นหนึ่งในกลุ่มปราสาทมรรคโค เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าสร้างขึ้น เพื่อถวายพระศิวะ

พิกัด ตั้งอยู่บริเวณตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากอุทยานประวัติสาสตรืพนทรุ้ง 7 กิโลเมตร


13.วัดหงษ์ อ.พุทไธสง
วัดหงษ์ ที่มีตำนานมากกว่า 300 ปี พอจะสันนิษฐานว่าสร้างพร้อมกับเมืองพุทไธสง ราวปี พ.ศ. 2200 "พระเจ้าใหญ่" ได้รับการยอมรับว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ และประชาชนให้ความเลื่อมใสศรัทธา
พิกัด จากตัวเมืองบุรีรัมย์ไปตามเส้นทาง 2074 (บุรีรัมย์-พุทไธสง) จะผ่านแยกบ้านจาน ตรงไปเข้าอำเภอพุทไธสง ถึงแยกตลาดพุทไธสง ตรงต่อไปตามถนน 2061 ทางบึงสระบัว จะมีแยกขวามือเลี้ยวขวา แล้วตรงไปจะเจอโรงเรียนวัดหงษ์ ก่อนถึงวัดหงษ์ซึ่งอยู่ติดกัน


14.สนามบุรีรัมย์เซอร์กิต อ.เมืองบุรีรัมย์
 
บุรีรัมย์ อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต เป็นสนามแข่งรถมาตรฐานสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติ (FIA) ในประเทศไทย ในวันที่ 24 กันยายน 2557 สนามช้างได้รับการรับรองจากสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติ ว่าเป็นสนามแข่งรถระดับมาตรฐาน เอฟไอเอ เกรด 1 (FIA Grade 1) ซึ่งเป็นระดับสนามที่อนุญาตให้ใช้จัดการแข่งขันรถสูตรหนึ่ง (ฟอร์มูลาวัน) ได้

ในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 สนามช้างได้รับการรับรองจากสมาพันธ์จักรยานยนต์นานาชาติ (FIM) ว่าเป็นสนามแข่งรถระดับมาตรฐาน เอฟไอเอ็ม เกรด เอ (FIM Grade A) ซึ่งเป็นระดับสนามที่อนุญาตให้ใช้จัดการแข่งขันโมโตจีพีได้
พิกัด ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของช้างอารีนา


15.พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.๑ อ.เมือง  





16.ศาลหลักเมือง อ.เมือง

ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ ตามประเพณีไทยตั้งแต่สมัยโบราณเมื่อมีการสร้างเมืองใหม่ก็จะมีการสร้างเสาหลักเมือง เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่บ้านเมือง และต้องตั้งในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านแก่เมือง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ก็เช่นกัน
บริเวณศาลหลักเมืองแห่งนี้เคยเป็นจุดเจ้าพระยาจักรี คือ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ใช้เป็นจุดพักรบ และเห็นว่าบริเวณนี้เป็นทำเลที่เหมาะสม มีสระน้ำ มีต้นแปะขนาดใหญ่ เลยโปรดเกล้าให้ตั้งชื่อเมืองนี้ว่าเมืองแปะ ก่อนที่จะมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองบุรีรัมย์

พิกัด
ตั้งอยู่กลางใจเมือง ติดกับที่ตั้งของวัดกลางพระอารามหลวง และ“สระสิงโต” มีความเชื่อกันว่าเป็น สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อครั้งเจ้าพระยาจักรี (ซึ่งต่อมาได้เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ยกทัพมาตีเมืองจำปาศักดิ์ ทรงได้พักทัพที่บริเวณสระน้ำแห่งนี้  ที่ตั้งที่เหมาะสมเป็นจุดทางแยกตัดกันของถนนหลักเมืองกับถนนจิระ ตั้งในพื้นที่สูง เราจะสามารถมองเห็นศาลหลักเมืองจากจุดที่เดินทางเข้ามาตัวเมือง


17.ปราสาทหินพนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดบุรีรัมย์ ถือเป็นสถานที่แห่งความภูมิใจสูงสุดของชาวบุรีรัมย์ ศรัทธา และการท่องเที่ยว ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง 

พิกัด อ.เฉลิมพระเกียรติ บุรีรัมย์ จากแยกตะโก บนถนนเส้น24 ไปเลี้ยวขึ้นเขาอีกที่ที่บ้านตาเป๊ก รถเล็กรถใหญ่สามารถขับขึ้นไปได้ ขับด้วยความระมัดระวัง บางช่วงถนนชันบ้างเล็กน้อย

 

 18.ผึ้งร้อยรัง อ.บ้านกรวด / เขื่อนเมฆา
ถือเป็นหนึ่งใน OTOP ท่องเที่ยว นวัตวิถี นำเที่ยวชม ผึ้งร้อยรัง ชิมความหวานน้ำผึ้งเดือนห้า ที่อำเภอบ้านกรวด บุรีรัมย์ ทุกวันนี้ทางชุมชนร่วมตกแต่งสถานที่สะอาด งดงาม เป็นระเบียบ มาท่องเที่ยวกัน ถือเป็น OTOP ท่องเที่ยวนวัตวิถี ของอำเภอบ้านกรวดที่น่าสนใจที่สุดแห่งหนึ่ง 


เขื่อนเมฆา อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยว อ.บ้านกรวด บนเส้นทาง บ้านกรวด-ละหานทราย แนะนำสำหรับท่านที่ชื่นชอบธรรมชาติๆ มาเที่ยวเขื่อน กินปลา ที่เที่ยวถ่ายภาพ ด้วยภูมิประเทศที่มีแนวเขาสลับป่ากั้นเป็นแอ่งน้ำทำให้อากาศสบายๆ ไม่ร้อน อากาศบริสุทธิ์





พิกัด แยกบนถนนเส้น อ.บ้านกรวดไป อ.ละหานทราย บุรีรัมย์


19.เขื่อนลำนางรอง อ.โนนดินแดง  
ยอดนิยมอันดับต้นสำหรับการเล่นน้ำที่เขื่อน ทะเลน้ำจืดบุรีรัมย์ ความสุขทุกๆครอบครัว เที่ยวพักผ่อนเล่นน้ำจืด เขื่อนลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง บุรีรัมย์ ช่วงร้อนๆ คิดถึงสถานที่เล่นน้ำในใจหลายท่านคงคิดถึงที่นี่ เขื่อนลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง

ทั้งเล่นน้ำ ของกิน ทานข้าว สั่งปลาเผา เครื่องดื่ม ยิ่งช่วงเทศกาลประชาชนและนักท่องเที่ยว ช่วงหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ได้พาครอบครัวบุตรหลานแวะเที่ยวพักผ่อน รับประทานอาหาร และเล่นน้ำคลายร้อนที่ “เขื่อนลำนางรอง” สำหรับท่านที่ไม่ได้เตรียมห่วงยาง ชูชีพ เสื้อผ้าเล่นน้ำ ที่นี่มีบริการพร้อมสรรพหมดกังวล ดูคึกคักสร้างรายได้ หนุนเศรษฐกิจชุมชน ทางเจ้าหน้าที่อำเภอโนนดินแดงได้เตรียมสถานที่รอต้อนรับ และอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว..

นั่งรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตาครอบครัวตามร้านอาหารที่ให้บริการ หรืออาจนำเสื่อมาปูนั่งรับประทานตามจุดต่างๆ และลงเล่นน้ำคลายร้อน จึงมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
การเดินทาง จากตัวเมืองบุรีรัมย์มุ่งหน้าไปยังอำเภอนางรอง(สาย218) ถึงอ.นางรองเลี้ยวซ้ายแยกไปรษณีย์ไปตามเส้นทางนางรอง-อรัญประเทศ(สาย348) จะผ่านอำเภอปะคำ และตัวอำเภอโนนดินแดง ตัวเขื่อนจะเลยช่วงตัวเมืองโนนดินแดงไปก่อน จะมีป้ายทางซ้ายมือทางเข้าเขื่อนลำนางรอง ใกล้กับอนุสาวรีย์เราสู้ ระยะทางจากตัวเมืองบุรีรัมย์ถึงเขื่อนประมาณ 100 กิโลเมตร


20.ถนนคนเดินเซราะกราว อ.เมือง  
บุรีรัมย์ 1 ใน12 ร้านอาหารริมบาทวิถีปลอดภัย ถนนคนเดินเซราะกราว ได้รับการคัดเลือกเป็นถนนอาหารริมบาทวิถีต้นแบบ 1ใน12 แห่งของประเทศ จากกรมอนามัย..เข้ารับเกียรติบัตรจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงโครงการนี้ว่า กรมอนามัย ได้จัดทำโครงการพัฒนาอาหารริมบาทวิถีปลอดภัย สนับสนุนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยววิถีไทย เพื่อพัฒนาต้นแบบการจัดบริการอาหารริมบาทวิถี ที่ได้มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของพื้นที่ ดำเนินการในพื้นที่เดิมปี 2561 จำนวน 12 จังหวัดที่ได้พัฒนาเป็นต้นแบบ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ชลบุรี บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ตรัง และสงขลา โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)




ถนนคนเดินมีทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงเวลา 16.00-22.00 น. หน้าเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ (ใกล้สถานีตำรวจบุรีรัมย์/สาธารณสุขจังหวัด) 


ที่เที่ยวบุรีรัมย์ ยังมีอีกมากมาย ชาวบุรีรัมย์ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยมิตรไมตรี เมืองท่องเที่ยว นี่คือ 20ตัวอย่าง ที่เที่ยวในปี2021- 2022