ยอดเยี่ยมกับชุมชนที่ลุกขึ้นมาจัดการตนเองจัดการท่องเที่ยว "กินได้ เที่ยวได้ ขายได้"

ห้วยหวายพัฒนากำลังก้าวเข้าสู่การท่องเที่ยวชุมชนอย่างเต็มรูปแบบ มีอาหาร ที่พัก สถานที่เที่ยว กิจกรรมการต้อนรับ ของฝาก ครบทุกอย่าง #เชิญทุกท่านมาชมความงามทางธรรมชาติ พื้นที่กินได้ เที่ยวได้ ขายได้ มาดูวิธีการตำน้ำกินแห่งแรกของจังหวัดบุรีรัมย์
ขอบคุณทุกๆ คณะที่มาเยี่ยมชม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มองเห็นคุณค่าและความตั้งใจของชุมชนเรา ภายใต้การขับเคลื่อนผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จนกลายเป็นพื้นที่ "กินได้ เที่ยวได้ ขายได้" รื้อฟื้นภูมิปัญญาตำน้ำกิน
 

 
 

วิถีวัฒนธรรมผ่านการพัฒนาพื้นที่ "กินได้ เที่ยวได้ ขายได้" ร้อยความสัมพันธ์ของชุมชนบ้านห้วยหวายพัฒนาให้ลุกขึ้นมาจัดการตนเอง
 
 

บ่อน้ำที่กำลังตำ (ตำน้ำกิน)

บ่อน้ำที่ผ่านการตำ (น้ำสะอาด)


ชุมชนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บ้านห้วหวายพัฒนา วันอาสาฬหบูชาเป็นสำคัญของศาสนา ชุมชนเราก็นำผักปลอดสาร อาหารปลอดภัยที่ผลิตขึ้นในพื้นที่ "กินได้ เที่ยวได้ ขายได้" ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต........วิถีวัฒนธรรมของชุมชนบ้านห้วยหวายพัฒนา

ประเพณีแห่ข้าวพันก้อน มิติวัฒนธรรมท้องถิ่นอัลบั้มประเพณีแห่ข้าวพันก้อน มิติวัฒนธรรมท้องถิ่น
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 02.00 ชุมชนบ้านห้วยหวายพัฒนาแห่ข้าวพันก้อน ซึ่งเป็นประเพณีที่เรียกว่า "บุญพระเหวด" ซึ่งเป็นการเคารพศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา เป็นประเพณีที่ได้รับการสืบทอดมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นในเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดร หรือ เทศน์มหาชาติ มีจำนวนทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยชุมชนมีความเชื่อว่าการฟังเทศน์ครบทั้ง 13 กันณฑ์ในวันเดียวจะทำให้เกิดในศาสนาของพระอริยเมตไตรย ดังนั้น ประเพณีแห่ข้าวพันก้อนจัดอยู่ในงานบุญผะเหวด ซึ่งนับเป็นมหากุศล ที่ได้บำเพ็ญบุญ เสียสละความเห็นแก่ตัว เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม คือ การบริจาคทานที่ยิ่งใหญ่ ก่อให้เกิดความสุข เป็นมงคลสำหรับผู้ที่ร่วมงาน ประสบความสำเร็จ เจริญรุ่งเรื่องในอาชีพ
 
 
 
การแห่ข้าวพันก้อนชุมชนบ้านห้วยหวายพัฒนาก็จะร่วมกันตระเตรียมสิ่งของ เครื่องใช้ สำหรับจัดงานประเพณี ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นความสามัคคีของชุมชน ที่ได้เสียสละเวลามาทำกิจกรรมสาธารณะร่วมกัน จึงนับว่าเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญก่อให้เกิดประโยชน์ เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงาม สานสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนสามวัย ได้แก่ เด็ก หนุ่มสาว ผู้สูงอายุ เป็นต้น ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดวิถีวัฒนธรรมผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน #การวิจัยเพื่อท้องถิ่น จึงเป็นการเข้าไปร่วมศึกษาเรียนรู้ สัมผัสวิถีชีิวิตของชุมชนให้ถึงรากฐานของความรู้ ที่จะนำไปสู่การ พัฒนาศักยภาพทุนทางวัฒนธรรม เพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน #สกววิจัยเพื่อท้องถิ่น

ติดตามชุมชนผ่าน facebook คลิก ชุมชนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม  บ้านห้วยหวายพัฒนา.

แนะนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุทิศ ทาหอม