พร้อมการรับยื่นสมัครเข้าร่วมโครงการ "โซลาร์ภาคประชาชน" ผ่านช่องทางเว็บไซต์

พร้อมการรับยื่นสมัครเข้าร่วมโครงการ "โซลาร์ภาคประชาชน" ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของ "กฟน." และ "กฟภ."ได้ทั่วประเทศตั้งแต่ 24 พฤษภาคม 2562" รัฐมนตรีพลังงาน" ประชุมร่วมกับ "กกพ." เตรียมความพร้อม การรับยื่นสมัครเข้าร่วมโครงการ "โซลาร์ภาคประชาชน" ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของ "กฟน." และ "กฟภ."ได้ทั่วประเทศตั้งแต่ 24 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป หมดเขตภายในปี 2562 นี้ 

สำหรับการเปิดรับสมัครประชาชนผู้สนใจ เพื่อยื่นขอขายไฟฟ้า จะเป็นการยื่นผ่านระบบออนไลน์ในช่องทางเว็บไซต์ ของ กฟน. คลิกที่นี่ https://spv.mea.or.th และ เว็บไซต์ของ คลิกที่นี่  กฟภ. ที่ https://ppim.pea.co.th ซึ่งได้มีออกแบบมาเป็นช่องทางเฉพาะเพื่อรองรับการอำนวยความสะดวกและรวดเร็วให้กับประชาชนผู้สนใจที่จะเข้ามาสมัคร โดยจะเปิดรับยื่นความจำนงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป และหมดเขตรับลงทะเบียนภายในปี 2562 โดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย จะทยอยประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการพิจารณา ทางเว็บไซต์ของการไฟฟ้า รวมทั้งส่งผลให้ผู้สมัครได้รับทราบทางอีเมลที่ได้แจ้งไว้ ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป และลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าต่อไป ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในราคาหน่วยละ 1.68 บาท

สำหรับพื้นที่ดำเนินการของ กฟภ. ประกอบด้วย 74 จังหวัด ที่อยู่นอกเหนือจากพื้นที่ดำเนินการของ กฟน. โดยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลได้ที่ 02-207-3599 หรือติดตามจากเว็บไซต์ สำนักงาน กกพ. ที่ www.erc.or.th ซึ่งจะมีลิงก์ (Link) เชื่อมโยงเข้าระบบการลงทะเบียนกรอกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ (Online) และดาวน์โหลด (Download) เอกสารที่เกี่ยวข้อง และอัพโหลดเอกสาร (Upload) ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดได้ในเว็บไซต์ของ กฟน. และเว็บไซต์ กฟภ. ได้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม นี้ และหมดเขตรับลงทะเบียนภายในปี 2562" 

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงโครงการโซลาร์ภาคประชาชนของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้กำหนดหลักการนำร่อง โดยจะรับจดทะเบียนเจ้าของบ้านและอาคารที่เป็นเจ้าของมิเตอร์ ประเภทบ้านที่อยู่อาศัยที่ต้องการติดตั้งแผงเซลล์ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เองเชื่อมกับระบบไฟฟ้าของประเทศและขายผลผลิตไฟฟ้าส่วนเกินความต้องการใช้เข้าสู่ระบบได้ในขนาดการติดตั้งประมาณ 100 เมกะวัตต์ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการ โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักการทำงานของโซลาร์รูฟภาคประชาชนบ้านอยู่อาศัย คือ เวลากลางวันไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์รูฟจะไหลเข้าตู้ไฟฟ้าบ้านผสมกับไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้าโดยที่ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์รูฟจะถูกนำไปใช้ก่อน หากไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์รูฟมีค่าน้อยกว่าการไฟฟ้าในบ้าน บ้านจะซื้อไฟฟ้าส่วนที่ไม่พอจากการไฟฟ้าเข้ามาเติม หากไฟฟ้าที่ผลิตได้จากการโซลาร์รูฟมีค่ามากกว่าการใช้ไฟฟ้าในบ้าน บ้านจะขายไฟฟ้าส่วนที่เกินให้แก่การไฟฟ้าในราคาหน่วยละ 1.68 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ มิเตอร์จะอ่านและบันทึกค่าการไหลของไฟฟ้าได้ 2 ทิศทางคือไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้า และไฟฟ้าที่ขายให้แก่การไฟฟ้า ขณะที่บิลค่าไฟจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ซื้อไฟฟ้าและส่วนที่ขายไฟฟ้า โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยืนยันจะทำโครงการนี้ให้โปร่งใสและยุติธรรมที่สุด




ขณะเดียวกันรัฐบาลจะออกมาตรการสนับสนุนให้ผู้ผลิตแผงโซลาเซลล์และผู้ประกอบการติดตั้งระบบในประเทศและสถาบันอาชีวศึกษาให้มีส่วนร่วมในธุรกิจการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบ คาดว่าแต่ละปีจะมีการติดตั้งประมาณ 10,000-20,000 ระบบ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี

ขอขอบคุณ : Solar D
อ่านเพิ่มเติมตรงนี้ท่านที่สนใจ ..Solar PV Rooftop
PEA ชี้แจงรายละเอียดผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย (Solar PV Rooftop) พ.ศ. 2562
.
ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ได้มีประกาศจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV Rooftop) สำหรับภาคประชาชน พ.ศ.2562 ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กพช.) โดยในปี 2562 มีเป้าหมายการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย จำนวน 100 เมกะวัตต์สูงสุด (MWp)โดยแบ่งเป็นในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 30 เมกะวัตต์สูงสุด (MWp) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) 70 เมกะวัตต์สูงสุด (MWp) และให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายเป็นผู้ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าโครงการดังกล่าว โดยมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์สูงสุด (kWp) ต่อเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า และขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ไม่เกินเดือนธันวาคม 2562
.
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA )แจ้งรายละเอียดและคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการ ดังนี้
.
- ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากับ PEA ประเภทบ้านอยู่อาศัย (ประเภทที่ 1) ที่จะติดตั้งหรือติดตั้ง Solar PV Rooftop แล้ว โดยเน้นให้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง(Self-Consumption) เพื่อลดค่ากระแสไฟฟ้า และส่วนที่เหลือสามารถขายคืนให้กับ PEA ได้ ในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 1.68 บาท/หน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี
.
- การเข้าร่วมโครงการฯมีค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ากับ PEA เป็นเงิน 8,500 บาท (ราคานี้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ Solar PV Rooftop)
.
- คุณสมบัติของผู้ที่จะยื่นขอผลิตไฟฟ้าจะต้องเป็นเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (ชื่อเดียวกับชื่อในบิลค่าไฟฟ้า) และเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าต้องเป็นทรัพย์สินของ PEA
.
**ในกรณีชื่อผู้ที่ยื่นขอผลิตไฟฟ้าไม่ตรงกับชื่อเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า อาทิ มีการซื้อขายบ้าน เจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเดิมถึงแก่ความตาย หรือ มีการเปลี่ยนชื่อ-สกุล ให้ติดต่อการไฟฟ้าในพื้นที่ที่ใช้ไฟฟ้า เพื่อแก้ไขหรือโอนเปลี่ยนเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าให้ถูกต้องก่อนยื่นขอผลิตไฟฟ้า
.
สำหรับประชาชนที่ใช้ไฟฟ้ากับ PEA มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าว สามารถยื่นขอผลิตไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ระบบ PPIM (https://ppim.pea.co.th) และท่านต้องลงทะเบียนสมัครบัญชีผู้ใช้งาน (Account) ของระบบ PPIM ก่อนที่จะยื่นขอผลิตไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าสามารถยื่นขอผลิตไฟฟ้าได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2562 ทั้งนี้ต้องรอประกาศจาก กกพ.ต่อไป
.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 1129 PEA Call Center หรือ กองส่งเสริมพลังงานทดแทนและผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ฝ่ายส่งเสริมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (PEA) โทร. 02-590-9753 02-590-9763 02-009-6053

ขอบคุณภาพ เพจ Maywon PV-Mounting Co.,Ltd อุปกรณ์ยึดแผงโซล่าเซลล์
-------------------------------------------------
ข้อมูล : กองส่งเสริมพลังงานทดแทนและผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ฝ่ายส่งเสริมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ข่าว : แผนกฐานข้อมูลประชาสัมพันธ์ กองสื่อสารองค์กร ฝ่ายประชาสัมพันธ์