ประเพณีแห่นาคช้าง ที่อำเภอบ้านด่าน สืบทอดประเพณีไว้อย่างยาวนาน

งานศิลปะบนตัวช้างถือเป็นงานศิลปะที่มีความวิจิตรงดงามเป็นส่วนเสริมเติมงานให้มีความอลังการ โดยช้างแต่ละเชือกนั้นก็จะถูกควาญช้างตกแต่งลวดลายลงบนผิวหนังอย่างสวยงาม วาดลวดลาย หลังจากถูกแต่งแต้มจนออกมาสวยงามจนแล้วเสร็จ ควาญช้างก็จะนำช้างไปรับนาคที่บ้าน ความเชื่อหนึ่ง การบวชนั้นถือเป็นการเดินทางเข้าสู่เส้นทางธรรม ก็จะมีเหล่ามารมาผจญอาจทำให้เกิดอันตรายได้ขณะเดินทางไปทำพิธีอุปสมบท ช้างถือว่าเป็นสัตว์มงคลและเป็นสัตว์ใหญ่หากขึ้นหลังช้างแล้วก็จะไม่มีอันตรายใดๆ มากล้ำกราย

งานประเพญีแห่นาคช้าง และพิธีมงคลต่างๆในแถบอีสานใต้ ที่เป็นประเพณีสืบทอดกันมา การบวชนาคช้างนั้นไม่ได้เป็นการนำช้างมาบวช แต่เป็นการบวชของผู้ชายในหมู่บ้าน เพื่อทดแทนพระคุณพ่อแม่ และเข้าไปศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนา โดยมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือการมีช้างเข้ามาร่วมในการแห่นาค ถือเป็นส่วนหนึ่งของพิธีปฏิบัติ ที่อำเภอบ้านด่าน ที่หนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่จัด "ประเพณีแห่นาคช้าง" ถือเป็นงานบุญใหญ่ของตำบลปราสาท ผู้คนในชุมชนร่วมแรงร่วมใจรักษามาอย่างต่อเนื่อง ประเพณีนำนาคเเห่บนหลังช้าง ที่ ต.ปราสาท อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ จะจัดช่วงประเพณีวันสงกรานต์ เป็นงานบวชที่ยิ่งใหญ่ และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์

การจัดงานประเพณีดังกล่าว จะจัดในทุกวันที่ 15 เมษายน ของทุกปีที่วัดบ้านปราสาท ต.ปราสาท อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ โดยในแต่ละปี จะมีช้างมาร่วมพิธีจำนวนนับสิบๆเชือก การนำนาคแห่บนหลังช้างถือเป็นประเพณีที่ชาวบ้านตำบลปราสาท จัดเป็นประเพณีสืบทอดกันมาของคนในอำเภอ คนในชุมชนที่เดินทางกลับในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะต้องรอผ่านงานนี้ไปก่อนจึงจะเดินทางกลับไปทำงานต่อ เพราะชาวบ้านเชื่อว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปี หากได้ร่วมงานจะทำให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ความรุ่งเรือง พร้อมเงินทอง

 
 

 
 


 
 

ขอบคุณภาพ waw suthinee arokha / พลายศรีทัพไทย พลายสักใบ พลายหนุ่มเสก